แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดนราธิวาส
วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
มัสยิด 300 ปี ตะโละมาเนาะ
มัสยิด 300 ปี
ตะโละมาเนาะ
บ้านตะโละมาเนาะ ตำบลลุโบะสาวอ ห่างจากจังหวัดนราธิวาส เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 แล้วแยกที่บ้านบือราแง ห่างจากตัวอำเภอบาเจาะ ประมาณ ๔ กิโลเมตร แยกจากถนนสายปัตตานี-นราธิวาสก่อนถึงอำเภอยังมีทางแยกขวาไปถึงมัสยิดสร้างด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลัง ตั้งตระหง่านมากว่า ๓๐๐ ปี ใช้สลักไม้ยึดหลักแทนตะปู หรือสกรูเหล็ก
รูปทรงของอาคารเป็นแบบไทยพื้นเมืองประยุกต์เข้ากับศิลปะจีน และมลายูออกมาได้ลงตัว ส่วนเด่นที่สุดของอาคาร คือ เหนือหลังคาจะมีฐานมารองรับจั่วบนหลังคาอยู่ชั้นหนึ่ง ส่วนหออาซานซึ่งมีลักษณะเป็นเก๋งจีน ก็ตั้งอยู่บนหลังคาส่วนหลัง ฝาเรือนใช้ไม้ทั้งแผ่นแล้วเจาะหน้าต่าง ส่วนช่องลมแกะเป็นลวดลาย ใบไม้ ดอกไม้สลับลายจีน ปัจจุบันมัสยิดนี้ยังใช้เป็นสถานประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิม หากต้องการเข้าชมภายในต้องได้รับอนุญาตจากโต๊ะอิหม่ามประจำหมู่บ้าน โดยทั่วไปเข้าชมได้บริเวณภายนอกเท่านั้น นอกจากนั้นหมู่บ้านตะโละมาเนาะในอดีตยังเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์อัลกุรอานที่เขียนด้วยมือ
อาหารพื้นถิ่นจังหวัดนราธิวาส
อาหารพื้นถิ่นจังหวัดนราธิวาส
|
ผ้าบาติก
ผ้าบาติก
การทำผ้าเป็นศิลปหัตถรรมที่น่าสนใจ หลักการทำผ้าบาติกอาศัยเทคนิคง่ายๆ คือ “ การวันสีด้วยเทียน ” โดยใช้ “ วันติ้ง ” เป็นเครื่องมือที่จุ่มเทียนไขเหลวเพื่อวาดลวดลายลงบนผืนผ้าก่อนลงสีในส่วน ที่ไม่ต้องการให้ติดสีที่ย้อม เมื่อนำไปย้อมสี สีก็จะติดเฉพาะส่วนที่ไม่ลงเทียนไว้และจะติดซึมไปตามรอยแตกของเทียนเกิดลวด ลายสวยงามแปลกตาอันเป็นสัญลักษณ์ของผ้า
ปัจจุบันการทำผ้านิยมใช้วิธีพิมพ์ลายผ้ามากกกว่าวิธีเขียนลายด้วยมือเพราะ เร็วและสะดวกกว่า ผ้าบาติกนี้นอกจากส่งขายตามเมืองท่องเที่ยวใหญ่ ๆ ในไทยแล้ว ยังส่งออกไปขายในมาเลเซียด้วย
น้ำตกฉัตรวาริน
น้ำตกฉัตวาริน
น้ำตกฉัตรวาริน อยู่ที่ตำบลโต๊ะเด็ง ไม่ไกลจากตัวเมือง ไปตามทางหลวงหมายเลข 4056 ถึง โรงพยาบาลสุไหงปาดีแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนอีก 6 กิโลเมตร ทางเข้าลาดยางตลอด อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำตลอดทั้งปี สภาพแวดล้อมร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด มีตำนานพื้นบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่า ที่น้ำตกแห่งนี้ในครั้งโบราณ วันดีคืนดีมักได้ยินดนตรีมะโย่งแว่วดังมาจากน้ำตกเสมอ ๆ เมื่อชาวบ้านพากันไปดูมาก ๆ ก็ไม่พบเห็นสิ่งใดเลย กระทั่งผู้เฒ่าคนหนึ่งชื่อ “โต๊ะเด็ง” แอบขึ้นไปดูขณะที่มีเสียงดนตรีก็เห็นภาพชายหญิงคู่หนึ่งออกมาร่ายรำทำนองมะโย่ง โดยมีร่มขนาดใหญ่หรือฉัตรกางอยู่ แล้วก็หายวับไป จากเรื่องที่พบเห็นนี้ ชาวบ้านจึงนำมาตั้งเป็นภาษาท้องถิ่นว่า “ไอปายง” หรือน้ำตกฉัตร แปลว่าน้ำตกกางร่ม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2510-2511 อำเภอได้ทำการปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้น จึงตั้งชื่อน้ำตกแห่งนี้เป็นทางการจากความหมายเดิมว่า “น้ำตกฉัตรวาริน”
พันธุ์ไม้เด่นของที่นี่คือ ปาล์มบังสูรย์ ซึ่งเป็นไม้หายากพบในบริเวณป่าลึกที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,800 เมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย ลักษณะเป็นไม้ลำต้นเตี้ยๆ แต่แตกก้านออกเป็นกอใหญ่ สูงท่วมหัว สามารถสูงได้ถึง 3 เมตร ใบแผ่กว้างทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีเส้นใบเรียงกันเป็นระเบียบสวยงาม ได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นปาล์มที่สวยงามที่สุด ซึ่งจะพบในป่าแถบนี้เท่านั้น ชื่อ “ปาล์มบังสูรย์” ตั้งโดยศาสตราจารย์ประชิด วามานนท์ ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์ เมื่อครั้งท่านเดินทางมาสำรวจพื้นที่แถบนี้ ได้พบปาล์มชนิดนี้ปลูกอยู่ในหมู่บ้านมุสลิม ศาสตราจารย์ประชิดเห็นว่าใบของปาล์มชนิดนี้มีลักษณะคล้าย “บังสูรย์” เครื่องสูงที่ใช้บังแดดในพิธีแห่จึงนำมาตั้งเป็นชื่อปาล์มดังกล่าว ส่วนภาษาท้องถิ่นเรียกว่า บูเก๊ะอีแป แปลว่าตะขาบภูเขา น่าจะมาจากส่วนช่อดอกที่คล้ายตัวตะขาบ
น้ำตกปาโจแปะบุญ
น้ำตกปาโจแปะบุญ
น้ำตกปาโจ ตั้งอยู่ที่บ้านปาโจ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสเป็นน้ำตกใหญ่ที่มีน้ำตลอดปี แต่ในหน้าแล้งน้ำค่อนข้างน้อย มีความสูงประมาณ 60 เมตร มีทางขึ้นไปสู่ต้นน้ำเป็นชั้นๆ รวม 9 ชั้น นับว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดและสวยงามแห่งหนึ่งของภาคใต้ เป็นส่วนหนึ่งของอุทยาน แห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี มีพื้นที่คลอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอระแง ปาโจ ตามภาษามลายูท้องถิ่น เรียกว่า น้ำตก แต่โดยทั่วไปแล้วคนจะรู้จักกัน “ ปาโจแปะบุญ ” แปลว่า น้ำตกแปะบุญหรือน้ำตกบาเจาะ มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีพันธุ์ไม้ที่มีค่านานาชนิด สถานที่แห่งนี้ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่ง ความสำคัญทางธรรมชาติ เป็นสภาพที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง
นอกจากจะมีธรรมชาติที่สวยงามแล้วยังเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ พลับพลา “ศาลาธารทัศน์” ของรัชกาลที่ 7 เมื่อคราวเสด็จประพาสจังหวัดนราธิวาสและหินสลักจารึกพระปรมาภิไธยย่อและนามาภิไธยย่อ ในมหาจักรีวงศ์ของไทย ทั้งในอดีตและปัจจุบัน พร้อมกันนี้ยังเป็นที่ตั้งมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกของ ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ และเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี น้ำตกปาโจ เรียกตามชื่อหมู่บ้าน ปาโจ ที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงอำเภอรือเสาะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอจะแนะ อำเภจุดสนใจอีกอย่างหนึ่งของน้ำตกแห่งนี้คือการมี ใบไม้สีทองหรือ ย่านดาโอ๊ะ พันธุ์ไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในโลกที่นี่ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ใบไม้สีทองเป็นไม้เลื้อย มีลักษณะใบคล้ายใบชงโคหรือใบเสี้ยว แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก บางใบใหญ่กว่าฝ่ามือเสียอีก มีขอบหยักเว้าเข้าทั้งที่โคนใบ และปลายใบ ลักษณะคล้ายวงรีสองอันอยู่ติดกัน ทุกส่วนของใบจะปกคลุมด้วยขนกำมะหยี่เนียนนุ่ม มีสีทองหรือสีทองแดงเหลือบรุ้งเป็นประกายงดงามยามต้องแสงอาทิตย์ สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล และยังมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ หายาก มีราคาแพง และกำลังจะสูญพันธุ์ คือ หวายตะค้าทอง
และบริเวณป่าโดยรอบก็ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หายากนานาชนิด เช่น แรด ชะนีมือดำ สมเสร็จ เลียงผา นกเงือกพันธุ์หายากที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ได้แก่ นกเงือกหัวแรด นกเงือกชนหิน และนกเงือกหัวหงอกและที่สำคัญ คือ ค่างแว่นถิ่นใต้ มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนใต้ของพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย ไปจนถึงมาเลเซียและหมู่เกาะใกล้เคียง นอกจากค่างแว่นถิ่นใต้แล้วอแว้ง จังหวัดนราธิวาส อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
สมัยก่อนเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาสันกาลาคีรีที่แบ่งเขตแดนไทย-มาเลเซีย เคยเป็นที่ซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย จึงไม่ค่อยมีผู้ใดเข้ามาสัมผัสความมหัศจรรย์ของผืนป่าดงดิบแห่งนี้ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง ในปี พ.ศ. 2517 กรมป่าไม้จึงจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกปาโจ และกลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 294 ตารางกิโลเมตร
วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ของดีเมืองนราธิวาส
ลองกอง
ลองกอง เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อที่สุดของจังหวัดนราธิวาส พันธุ์ที่มีชื่อ คือ ลองกองบ้านซีโป อำเภอระแงะ เป็นพันธุ์ไม้ชนิดเดียวกับลางสาด มีเปลือกหนาและไม่มียางเหมือนลางสาด มีเนื้อน้อยกว่า แต่มีรสหวานกว่า อีกพันธุ์หนึ่งที่รสชาติดี คือ ลองกองตันหยงมัส ซึ่งเป็นลองกองซีโปที่นำมาปลูกที่บ้านตันหยงมัส ลองกองจะออกผลประมาณกลางเดือนสิงหาคม - กันยายน ผู้ที่สนใจเยี่ยมชมสวนลองกองพร้อมวิทยากรบรรยาย และหาซื้อลองกองกลับบ้าน สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอระแงะ โทร. ๐ ๗๓๖๗ ๑๒๙๐ และสำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส โทร. ๐ ๗๓๕๑ ๕๐๗๙
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)